"ตำบลไพรขลา ทุ่งนาข้าวมะลิหอม งามพร้อมผ้าไหมสวย ร่ำรวยวัฒนธรรม เลิศล้ำทะเลสาบทุ่งกุลา"  
 
 
ประวัติความเป็นมา
สภาพโดยทั่วไป
ตราสัญลักษณ์
คำขวัญ วิสัยทัศน์ พันธกิจ
นโยบายการพัฒนาของผู้บริหาร
บริการขั้นพื้นฐาน
สภาพทางสังคม
สภาพเศรษฐกิจ
วัฒนธรรมประเพณีชาวไพรขลา
นโยบาย
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
โครงสร้างองค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา
การบริการประชาชน
แหล่งท่องเที่ยว
 
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
 
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ศูนย์ดำรงธรรม
  กองทุนหลักประกันสุขภาพ
  เบี้ยผู้สูงอายุ
  แบบสอบถามความพึงพอใจ
  ภาพกิจกรรม
 คู่มือการพัฒนาและส่งเสริมการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันผลประโยน์ทับซ้อน
 การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
 มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
 รายงานการประชุมสภาท้องถิ่น
 การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
 การบริหารงานบุคคล
 LPA ส่วนกองการศึกษาฯ
 LPA กองช่าง
 ช่องทางการแจ้งเบาะแสป้ายโฆษณาหรือสิ่งอื่นใดที่รุกล้ำทางสาธารณะ
 การจัดทำฐานข้อมูลตลาด
 
  แผนยุทธศาสตร์
  การดำเนินงาน
  แผนดำเนินงานประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี รอบ 6 เดือน
  รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
 แผนพัฒนาท้องถิ่น
 ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
 รายงานผลการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
 รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
 การโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี
 แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณรายจ่ายประจำปี
 การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต
 แผนจัดหาพัสดุ
 แผนการส่งเสริมการท่องเที่ยว
 แผนแม่บทระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ
 
การปฏิบัติงาน
  มาตรฐานการปฏิบัติงาน
 
การให้บริการ
  ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
  มาตรฐานการให้บริการ
  รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
 นโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
 
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
  ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
  แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ รอบ 6 เดือน
  รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
 
การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
  แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
  ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  ผลประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง
  สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน
  รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
 
  นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
  การดำเนินการตามนโยบายการบริหาร ทรัพยากรบุคคล
  แผนอัตรากำลัง
  หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
  รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
 แผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
 การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
 หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
 รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
 ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
 
การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบ
  แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ  
 
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
  การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น  
 
การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
  นโยบายไม่รับของขวัญ (์No Gift Policy)
  การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
 
การประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริต
  การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี
  การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ
 แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
 
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
  การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรตามมาตรฐานทางจริยธรรม
 แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต 5 ปี (พ.ศ.2566-2570)
 
แผนป้องกันการทุจริต
  แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปีรอบ 6 เดือน
  รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
 
มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน
  มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
  การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
 การขับเคลื่อนจริยธรรม
 การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
 มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
 รายงานผลการดำเนินการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
 
  พ.ร.บ./พ.ร.ก.
  กฎกระทรวง/ระเบียบฯ
  ระเบียบกฏหมายอื่นๆ
 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-13
 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 ระเบียบการใช้และรักษารถยนต์
 รวมระเบียบ การรับเงิน การเบิกเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน
 
 
แบบสำรวจความคิดเห็น
ท่านต้องการให้ อบต. พัฒนาในส่วนใดมากที่สุด
ด้านการคมนาคม
ด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูล
ด้านการส่งเสริมอาชีพในตำบล
ด้านระบบอินเตอร์เน็ตตำบล
ด้านระบบสาธารณูปโภค
 
 
 
 
 
 
ประวัติความเป็นมา
_______________________________________________________________________________________
ประวัติความเป็นมา
 

 ประวัติความเป็นมา

"ชุมชนไพรขลา" เคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณตั้งแต่ยุดทวาราวดี ลพบุรี เพราะมีหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ใบสิมมาใหญ่ - สิมมาน้อยมีศิลาแลง ที่ก่อสร้างกู่ปราสาท มีคูน้ำกันดินเป็นวงรีล้อมรอบหมู่บ้านแต่ประวัติศาสตร์ของการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนยุคปัจจุบัน จากคำบอกเล่าได้เริ่มมาประมาณ 100 กว่าปี โดยกลุ่มแรกเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เขมร จากบ้านขาม บ้านยางกระจับ บริเวณบ้านไพรขลาเป็นโนนบ้านเก่า มีความอุดมสมบูรณ์ จึงอพยพมาตั้ง จำนวน 7 ครอบครัว แต่อยู่มาไม่นาน มีเสือใหญ่คู่หนึ่งที่มาจากบริเวณสิมมาใหญ่ สิมมาน้อย ออกมาคอยรบกวนสัตว์เลี้ยงอยู่เป็นประจำ จนเป็นที่หวาดกลัวของชาวบ้าน จึงอพยพกลับบ้านเดิม และเรียกบริเวณนี้ว่า "เปรยขลา" (เปรย แปลว่า ป่าคงหรือไพรขลาแปลว่า เสือ) จนกระทั่งเพี้ยนและได้กลายมาเป็น "ไพรขลา" ในปัจจุบัน ต่อมากลุ่มหลวงพิบูลย์ ได้พาครอบครัวและญาติพี่น้องอพยพจากบานหูลิง อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อที่จะไปบ้านเดิมที่บ้านแสนตาลอก อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เมื่อไปถึงอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ได้ข่าวว่าบ้านเดิมมีการสู้รบกันจึงตัดสินใจอพยพลงทางทิศใต้และเดินทางเลียบฝั่งน้ำมูลจนมาพบบริเวณบ้านไพรขลาเป็นป่าโนนบ้านเก่ามีความอุดมสมบูรณ์จึงได้สร้างบ้านแปลงเมืองเจริญรุ่งเรืองมาถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 4 ยุค ดังนี้

1.ยุคการก่อตั้งชุมชน
    หลังจากได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนแล้ว การทำมาหากินส่วนใหญ่จะพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งที่เป็นบริเวณป่าใกล้หมู่บ้าน แหล่งน้ำรอบหมู่บ้านและใกล้เคียงเพื่อการอุปโภคบริโภค เริ่มจับจอบบุกเบิกป่าและโนน,โพนดินบริเวณใกล้หมู่บ้านทำกิน แต่ก็พบว่าสัตว์ป่าพื้นเมือง อาทิพืชไร่พืชสวนมีหนูมาทำลายผลผลิต นาข้าวมีปูยกขบวนมาทำลายผลผลิต ทิศเหนือของหมู่บ้านเป็นทุ่งกว้างเรียกว่าทุ่งกุลาร้องไห้นั้น มีการจับจองเป็นแหล่งหาปลา คือ "การปั้นคูปลาน้อย" (คูปลา หมายถึงการขุดดินเป็นกันคูกั้นขวางทิศทางน้ำ เพื่อการดักลอบ ไซ หรืออวนตาถี่) (ปลาน้อยหมายถึงปลาตัวเล็กๆใช้ทำปลาจ่อม ปลาร้า) เพื่อเก็บปลาไว้บริโภคหรือเพื่อการแลกเปลี่ยน กับสินค้าอื่นๆกับชุมชนอื่นๆ ซึ่งการจับปลาแบบนี้นิยมทำในช่วงน้ำลด และการจับจองขึ้นคูปลาน้อยนี้เองได้ถูกใช้เป็นหลักฐานการจับจองบุกเบิกเป็นที่นาในเวลาต่อมา โดยชาวบ้านไพรขลาจะมีที่นาแต่ละครอบครัวหลายร้อยไร่ ระยะต่อมามีการบุกเบิกที่ทำกินในบริเวณทิศใต้ของชุมชน ซึ่งเป็นป่าโคกและได้มีการอพยพไปอยู่ใกล้ที่ทำกินจนกลายเป็นชุมชนหลายชุมชน เช่น ชุมชนบ้านฮองเฮือ หรือ ฮองเรือ (คือ ต.หนองเรือ ในปัจจุบัน) บ้านดงยาง บ้านโนนกอกบ้านตะลุง บ้านโนนพิลา เป็นต้น ในขณะเดียวกันนั้นชุมชนบ้านไพรขลายังเคยเป็นเส้นทางการค้าขายที่มีท่าข้าม ที่พักระหว่างทาง เพื่อการสัญจรจากเมืองเหนือทุ่งกุลาร้องไห้สู่เมืองศรีผไทสมันต์(จังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน) และสุดท้ายของการเดินทาง คือเขมร อีกเส้นทางคือเป็นเส้นทางน้ำการค้าขายน้ำตาลเร่(น้ำตาลซึ่งผลิตจากอ้อย)ระหว่างเมืองพิมายและเมืองอุบล ดังกล่าวมาจึงไม่แปลกเลยว่า ไพรขลาคือจุดแลกเปลี่ยนและค้าขายสินค้ามาก่อน หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นชุมชนเพื่อการค้าขายแลกเปลี่ยนมาตั้งแต่อดีตกาล

 

2.ยุคการสร้างบ้านแปลงเมืองเศรษฐกิจพึ่งตนเอง
   ได้มีการตั้งวัด โรงเรียน คนทุกคนต้องเข้าโรงเรียน โดยมีครูขี่ม้ามาจากบ้านทัพค่าย(อ.ชุมพลบุรีปัจจุบัน)ซึ่งไกลห่างออกไปทางตะวันตกขนานกับแม่น้ำมูลระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร ช่วงนี้ไพรขลายังคงเป็นการทำมาหากิน โดยขยายพื้นที่ทำกินออกจากหมู่บ้านไปทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นทุ่งกุลาร้องไห้ มีการขยายการทำกินโดยจับยอดหญ้ามัดเป็นแคนจับจอง (ขอดหญ้าหาแดน) การขอดหญ้าขยายออกไปจจรดลำพลับพลา ระยะทางร่วม 10 กิโลเมตร การกำหนดเขตพื้นที่จับปลาเฉพาะครอบครัวหรือกลุ่มครอบครัว ด้วยรูปแบบคูปลาน้อย มีการออกไป ทั้งบ้านเรือนให้อยู่ใกล้กับคูปลาน้อย "ดูปลาน้อย" และพัฒนามาสู่การตั้งชุมชนใหม่ เช่น บ้านโนนสังข์ โนนสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันเป็นหมู่บ้านในตำบลไพรขลาหลังจากนั้นคูปลาน้อยก็ถูกไถปรับไปเป็นพื้นนาแรงงานในยุคนี้ใช้กระบือไถนา ใช้แรงงานจากสมาชิกในครัวเรือน หรือลักษณะการขอแรงแบบลงแขก ทั้งลงแขกไถนา ลงแขกคำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว นอนนา ลงแขกตีข้าวและขนขึ้นยุ้ง

3.ยุคทุ่งแตก (ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่าน)
   ตั้งแต่ประมาณปีพุทธศักราช 2510 มีการบุกเบิกทุ่งกุลาร้องให้เพื่อทำแปลงนาปลูกข้าว โดยใช้สิทธิจากบริเวณทำคูปลาน้อยของตนเอง มีการนำเครื่องจักร รถไถบุกเบิกทำให้สามารถบุกเบิกได้รวดเร็วและจำนวนมากและราคาเฉลี่ยไร่ ละ 25 บาท ใครมีดูปลาน้อยมาก ก็ไถปรับได้มาก อาจมีตั้งแต่ 200ไร่จนถึง 100ไร่ต่อครอบครัว ต่อมาปี ยุคนี้อยู่ในยุคคาบเศรษฐกิจที่มีนาข้าวแรงงานสัตว์และคูปลาน้อยเกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาด้านแรงงาน เพราะมีที่ดินมากแต่แรงงานทำนาไม่มี ในหน้าปักคำ เกษตรกรได้ปรับตัวเองจาก การปักคำด้วยแรงงานคน มาเป็นไถหว่านด้วยรถไถใหญ่ เป็นยุคที่ข้าวหอมมะลิและปุ๋ยเคมีสารกำจัดแมลง(ปูนา) ได้เข้ามาสู่ทุ่งกุลาร้องให้ และเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคน การจ้างแรงงานเกี่ยวข้าวรายวันก็เกิดขึ้นในช่วงนี้ การลงทุนในการจัดหาแรงงาน เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูข้าว ค่อนข้างสูง ประกอบกับข้าวหอมมะลิมีราคาดี ทำให้เกษตรกรเล็งเห็นผลประโยชน์ที่จะได้รับ ทำให้การบุกเบิกทุ่งเพิ่มเติมขึ้นขยายมากยิ่งขึ้น มีชุมชนขยายออกสู่ท้องทุ่งมากขึ้น

    ปี 2522 มีการปฏิรูปที่ดินจากทางราชการ โดยแต่ละครอบครัวจะต้องได้ที่ดินไม่เกิน 25 ไร่ ส่วนที่เหลือต้องขายคืนแก่ทางราชการ ไร่ละ 1,000 บาท ทำให้ชาวบ้านต้องรีบขายที่ดินให้คนอื่น และมีการแบ่งโอนที่ดินให้กับลูกหลานที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ภายหลังที่รถใหญ่ข้ามาปรับที่นาแล้ว หลังจากนั้น ใช้รถไถเดินตามก็ตามเข้ามา เกษตรกรส่วนใหญ่มีรถไถเดินตามเพื่อไถที่นาหว่าน แต่ยังใช้แรงงานจากสมาชิกในครัวเรือนและแรงงานจ้างวานรายวันแต่ยังคงวัฒนธรรมการขอแรงแบบลงแขก ทั้งลงแขกไถนา ลงแขกคำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขกตีข้าวและขนขึ้นยุ่งฉางเกิดระบบสินเชื่อจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรออกรถไถนาเดินตามให้ครอบครัวสมาชิกธกส.

 

4.ยุคเศรษฐกิจก้าวหน้า
    จากเดิมเป็นการทำนาเพื่อยังชีพ หลังปีพุทธศักราช 2520 เป็นต้นมา การทำนาในบริเวณทุ่งกุลาได้รับการสนับสนุนการผลิตเพื่อการค้าขาย โดยเฉพาะ”ข้าวหอมดอกมะลิ” เป็นสินค้าที่มีชื่อทำให้การบุกเบิกที่ทำนาและมีการลงทุนในการผลิต มีการจ้างแรงงาน ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้เทคโนโลยี เครื่องจักรกลช่วยในการทำนา จนกลายเป็นระบบการผลิตที่พึ่งพาในปัจจัยการผลิตจากภายนอกกันอย่างถ้วนหน้าทางหน่วยงานภาครัฐได้มีโครงการต่อเนื่องจากโครงการ สปก.หน่วยงานภาครัฐได้เข้ามาขุดคลองส่งน้ำหรือคลองตาหมากหาบเพื่อพัฒนาระบบน้ำในที่ดินในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้
    คลองส่งน้ำเหล่านี้ได้ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ได้ในระดับหนึ่งและเป็นแหล่งสำรองน้ำช่วงหน้าแล้งได้แต่ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร แต่ก็ทำให้การสัญจรไปมาระหว่างที่นากับชุมชนได้สะดวกยิ่งขึ้น ในด้านการทำนานั้นเกษตรกรส่วนใหญ่ได้พัฒนาการทำนามาเป็นการจ้างทำครบวงจรในช่วงต้นยุคนี้รถไถเดินตามอาจมีบทบาทสูงในการใช้แทนแรงงานสัตว์แบบดั้งเดิม แต่ 10 ปีให้หลังพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้รถไถนาเดินตามมากนัก หากแต่นิยมการจ้างรถไถใหญ่ซึ่งหวนมากลับทุ่งกุลาอีกครั้งหนึ่ง การกลับมาครั้งนี้ไม่ได้กลับมาไถปรับพื้นที่เหมือนเมื่อ20-30 ปีที่แล้ว แต่กลับมารับจ้างไถดะไถแปร เพื่อให้เกษตรกรได้หว่านข้าวในช่วงต้นฝน ส่วนในหน้าเกี่ยวก็มีการปรับเปลี่ยนจากการเกี่ยวด้วยมือสีด้วยรถ มาเป็นการเกี่ยวแล้วสีพร้อม และสามารถมีรถบริการส่งไปขายให้ใด้ด้วย ซึ่งแน่นอนว่าถึงแม้จะมีพื้นที่นามหาศาลเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ มีข้าวคุณภาพดี รากาสูง สามารถผลิตและออกตลาดได้ก่อนเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ แต่เมื่อมองรายจ่ายจากการผลิตที่จัดจ้างและซื้อหาแทบทุกอย่างก็ไม่ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากนามากนัก
    ฉะนั้นจึงมีเกษตรกรจำนวนหนึ่งที่ลงทุนทำธุรกิจเรื่องตู้และเฟอร์นิเจอร์ การเปลี่ยนที่นาเป็นทุ่งยูคาลิปตัส ที่ลงทุนน้อยกว่า และไม่ต้องลงทุนในทุกปีและในยุคนี้เองที่ยูกาลิปตัสไค้แพร่ขยายลงสู่ท้องทุ่งกุลาฯ โดยในเบื้องต้นเกษตรกรจะปลูกตามสันคลองส่งน้ำ และกันนาแต่ในยุคหลังปี 2540 ได้มีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยตัดสินใจเลิกทำนา แล้วเอาที่นามายกร่องปลูกยูคาฯแทน

    ด้านอาชีพค้าขาย ปีพุทธศักราช 2525 มีคนในชุมชนไพรขลาได้ออกไปรับจ้างทำตู้กับข้าวในตัวเมืองสุรินทร์ และกาลต่อมาได้นำรูปแบบการทำตู้นั้นมาประดิษฐ์ที่บ้านไพรขลา ส่งโรงงานสุรินทร์ซึ่งตนเองเคยเป็นลูกจ้าง จากผู้กับข้าวมีการพัฒนาทำตู้เฟอร์นิเจอร์ไม้ จนกลายเป็นอาชีพหลักของหลายครอบครัว มีโรงงานเฟอร์นิเจอร์ในไพรขลาหลายโรงงาน จนปัจจุบันมีการถมที่นอกคูเมืองเก่าเป็นที่ตั้งโรงงาน ส่งขายทั่วประเทศหรือแม้กระทั่งประเทศเพื่อนบ้านถึงแม้ว่าชุมชนไพรขลาจะมี ชาติพันธุ์ลาว มาตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านแปลงเมือง แต่ชุมชนรอบๆไพรขลานั้นมีชุมชนที่เป็นชาติพันธุ์เขมร ชาติพันธ์กูย(ส่วย) มาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนแล้ว ทำให้มีการไปมาหาสู่แต่งงาน ระหว่างคุ้มหรือชุมชน จนทำให้ไพรขลาในปัจจุบันกลายเป็นชุมชนที่มีทั้งชาติพันธุ์ลาว ชาติพันธุ์เขมร ชาติพันธ์กูย(ส่วย) ตลอดระยะเวลาทีผ่านมาชุมชนไพรขลามีวิถีชีวิตชุมชนและความสัมพันธ์กับชุมชนใกล้เคียงอย่างมีความสุขแม้จะแตกต่างประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อแต่ก็หาได้มีความขัดแย้งกันไม่ ชุมชนไพรขลาแม้จะมากไปด้วยชาติพันธุ์ลาว แต่วัฒนธรรม / พิธีกรรมบางอย่างที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมเขมรจนอาจกล่าวได้ว่า ชุมชนไพรขลาได้หลอมรวมวัฒนธรรมวิถีชุมชนจากความหลากหลายแตกต่างของชาติพันธุ์ และสามารถอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

>> เอกสารแนบ

 

 
 
 
อบต.ไพรขลา อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ โทรศัพท์ 044-545132-3 , โทรสาร 044-545168
การแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดในระบบ Google Chrome, Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer 8 ขึ้นไป
สงวนลิขสิทธิ์ © โดย MediaCreativeCenter 08-7776-6615
หน้าแรก  I  สถานที่สำคัญ  I  ผลิตภัณฑ์ตำบล  I  กระดานถาม-ตอบ  I  แผนผังเว็บไซต์  I  ติดต่ออบต.