ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐)
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน อำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในชีวิตประจำวันของประชาชน สนับสนุนโครงการเสริมสร้างถนนลงหินคลุก โครงการเสริมสร้างถนนลงลูกรัง โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จัดหาแหล่งน้ำ คลองน้ำ บ่อน้ำหนองน้ำ เพื่อใช้ทางด้านการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรจะได้ทำนาให้ทันฤดูกาลและช่วยทางด้านอุทกภัย เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง การลงทุนซ้ำซ้อน ความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานของประชาชนมีมาก เพื่อตอบสนองความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานของประชาชนองค์การบริหารส่วนตำบลได้พัฒนาเส้นทางคมนาคมในหมู่บ้านต่างๆให้เกิดความสะดวกสบายในการสัญจรไปมา
๑. วัตถุประสงค์ ๑.๑ เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ๑.๒ เพื่อจัดให้มีน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค ๑.๓ เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยทางด้านการคมนาคมในชีวิตประจำวัน ๑.๔ เพื่อดำเนินการให้มีไฟฟ้าครอบคลุมทุกพื้นที่
๒. เป้าหมาย ๒.๑ พัฒนาและแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร หมู่ที่ ๑-๑๒ ตำบลไพรขลา ๒.๒ จัดให้มีน้ำสำหรับอุปโภค บริโภคเพียงพอตลอดปี หมู่ที่ ๑ ๑๒ ๒.๓ อำนวยความสะดวกและความปลอดภัยทางด้านการคมนาคม หมู่ที่ ๑ ๑๒ ๒.๔ จัดให้มีไฟฟ้าสาธารณะครอบคลุมทุกพื้นที่ หมู่ที่ ๑ ๑๒
๓. แนวทางการพัฒนา ๓.๑ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ได้แก่ ฝาย อ่างเก็บน้ำ ขุดลอก คู คลองส่งน้ำ หนองน้ำ สาธารณะ ให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ๓.๒ ขยายและขุดลอกหนองน้ำสำหรับผลิตน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค หมู่ที่ ๑ - ๑๒ ๓.๓ ปรับปรุงซ่อมแซม และก่อสร้างถนน รางระบายน้ำให้ครอบคลุมทุกหมู่ ๓.๔ ติดตั้งและขยายเขตฟ้าให้ประชาชนมีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง
๔. ตัวชี้วัด ๔.๑ หมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลไพรขลา ได้รับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น (หมู่ที่ ๑ – ๑๒) ๔.๒ โครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการก่อสร้างมีคุณภาพและได้มาตรฐาน
๕. กลยุทธ์ - ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หมู่ที่ ๑ - ๑๒
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาด้านคนและสังคม โดยส่งเสริมเด็กที่เรียนเก่งแต่ยากจนและขาดทุนทรัพย์ในการเรียน เพื่อให้เด็กที่มีความมุ่งมั่นในด้านการศึกษาและจะนำพาให้เด็กเป็นคนดีของชาติได้ในอนาคต ส่งเสริมทางด้านการเล่นกีฬา โดยการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาประชาชนและเยาวชน เพื่อที่จะพัฒนาให้เด็กรู้จักแพ้รู้จักชนะและรู้จักการให้อภัยและเพื่อให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงไม่ไปติดยาเสพติด จัดให้มีการรณรงค์ป้องกันยาเสพติด ดำเนินการให้มีเงินสงเคราะห์ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เด็กด้อยโอกาส และผู้ติดเชื้อเอดส์ ให้การสนับสนุนงบประมาณหน่วยงานอื่นในการดำเนินการเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และดำเนินการช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย เช่น อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย และภัยอื่น ๆ ที่เกิดจากธรรมชาติ
๑. วัตถุประสงค์ ๑.๑ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ๑.๒ เพื่อส่งเสริมจัดกิจกรรมด้านนันทนาการและด้านการกีฬา ๑.๓ เพื่อจัดสวัสดิการและการให้การสงเคราะห์สำหรับผู้ด้อยโอกาสในกลุ่มต่างๆ ๑.๔ เพื่อการดำเนินการเกี่ยวกับการให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปด้วยความรวดเร็วและ มีประสิทธิภาพ
๒. เป้าหมาย ๒.๑ ประชาชนทุกคนในตำบลไพรขลามีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ ครอบครัวและชุมชน ๒.๒ จัดกิจกรรมการพัฒนาด้านสังคม ๒.๓ จัดสวัสดิการและการให้การสงเคราะห์สำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสต่างๆ ๒.๔ จัดตั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในตำบลไพรขลา
๓. แนวทางการพัฒนา ๓.๑ เป็นการพัฒนาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกระดับ สร้างความเข้มแข็งของชุมชน ๓.๒ ส่งเสริมการนันทนาการและส่งเสริมด้านการกีฬา ๓.๓ จัดสวัสดิการสังคมสงเคราะห์ คนยากจน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และเด็กด้อยโอกาส
๔. ตัวชี้วัด - ประชาชนในตำบลไพรขลามีความเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๕. กลยุทธ์ - ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคน สังคม ให้มีความเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาด้านสาธารณสุข
การดำเนินงานทางด้านสาธารณสุขทำให้คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบลได้ส่งเสริมสุขภาพอนามัย การออกกำลังกาย ส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุ เด็กและสตรี รณรงค์ควบคุมโรคติดต่อไข้เลือดออก โดยการจัดซื้อน้ำยาเคมีพ่นหมอกควันและทรายอะเบท เพื่อกำจัดยุงอันเป็นสาเหตุของโรค จัดหาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคระบาด โครงการอาหารปลอดภัย
๑. วัตถุประสงค์ ๑.๑ เพื่อให้การบริการด้านการควบคุมโรคติดต่อทั้งในคนและสัตว์ได้ทั่วถึงและมีระสิทธิภาพ ๑.๒ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเสริมสร้าง สุขภาพของตนเองและคราอบครัว
๒. เป้าหมาย ๒.๑ ประชาชนทุกคนในตำบลไพรขลามีสุขภาพอนามัยที่ดี ๒.๒ ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ รวมทั้งชุมชนมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสุขภาพของตนเองและครอบครัวเพิ่มขึ้น
๓. แนวทางการพัฒนา ๓.๑ ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อต่างๆ ทั้งในคนและสัตว์ ๓.๒ ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน
๔. ตัวชี้วัด - ประชาชนในตำบลไพรขลา มีสุขภาพอนามัยที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๕. กลยุทธ์ - ส่งเสริมสนับสนุนการการพัฒนาด้านสาธารณสุขให้คลอบคุมทุกหมู่บ้านในตำบลไพรขลา
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาด้านการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
ส่งเสริมการศึกษาของเด็กโดยการสนับสนุนงบประมาณอาหารกลางวัน อาหารเสริม (นม) ให้โรงเรียนในพื้นที่ตำบลทุกโรง จัดตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ สนับสนุนวัสดุสื่อการเรียนการสอน สนับสนุนงบประมาณให้โรงเรียนจัดโครงการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน ตลอดจนการสนับสนุนงบประมาณในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ส่งเสริมอาชีพในสถานศึกษา สนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการ จริยธรรม หรือนันทนาการการศึกษา และมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กด้อยโอกาส นักเรียนเรียนดีแต่ยากจน ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมทำนุบำรุงศาสนาและจัดประเพณีในวันสำคัญต่างๆ เช่น ถวายเทียนพรรษา การจัดประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ลอยกระทง และประเพณีการแข่งเรือในวันออกพรรษา
๑. วัตถุประสงค์ ๑.๑ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดี มีจิตสำนึกที่ดี อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมอันดี ของตำบลให้อยู่สืบต่อไป ๑.๒ เพื่อให้เด็ก เยาวชนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
๒. เป้าหมาย ๒.๑ เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสำนึกที่ดี อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมอันดีงามของประชาชน ๒.๒ ยกระดับคุณภาพการศึกษาของประชาชน ทุกระดับทั้งในและนอกระบบอย่างทั่วถึง
๓. แนวทางการพัฒนา ๓.๑ ส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น ศาสนาและวัฒนธรรม ๓.๒ ส่งเสริมพัฒนาการศึกษาเด็ก เยาวชน สนับสนุนกิจกรรม และวัสดุ ครุภัณฑ์ ทางการศึกษา
๔. ตัวชี้วัด ๔.๑ ระบบการศึกษาได้รับการพัฒนาและมีคุณภาพที่เพิ่มขึ้น ๔.๒ ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์และบำรุงรักษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๕. กลยุทธ์ - ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาด้านการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
พัฒนาและส่งเสริมกลุ่มองค์กรต่าง ๆ เพื่อเป็นรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว โดยนำหลักการของรัฐบาลมาปรับใช้ ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา และช่วยส่งเสริมกลุ่มองค์กร เพื่อให้เกิดการสร้างงาน มีงานทำมีรายได้ในหมู่บ้านและตำบลของเรา เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ในอนาคต การกระตุ้นเศรษฐกิจ องค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลาและกลุ่มเกษตรอินทรีย์แต่ละหมู่บ้านได้ก่อสร้างโรงสีชุมชนเพื่อสีข้าวสารที่เป็นข้าวหอมมะลิและจำหน่าย ซึ่งเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลไพรขลา และได้ก่อสร้างโรงเรือนเกษตรอินทรีย์เพื่อให้กลุ่มเกษตรอินทรีย์แต่ละหมู่บ้านได้จัดทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในการผลิตข้าวหอมมะลิ และนำมาแปรรูปเป็นข้าวสารปลอดสารพิษต่อไป ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่ราษฎรในพื้นที่ตำบลไพรขลาในระดับหนึ่งส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยอินทรีย์ ส่งเสริมกิจกรรมลานค้าชุมชน สนับสนุนกิจกรรมกลุ่มอาชีพ
๑. วัตถุประสงค์ ๑.๑ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการทำการเกษตรอินทรีย์โดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ๑.๒ เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว ๑.๓ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในตำบล
๒. เป้าหมาย ๒.๑ ดำเนินการทำการเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสานทุกหมู่บ้าน ๒.๒ ส่งเสริมกลุ่มอาชีพทุกกลุ่ม ตั้งแต่ หมู่ที่ ๑ ๑๒ ตำบลไพรขลา ๒.๓ ดำเนินการจัดให้มีแหล่งท่องเที่ยวภายในตำบล
๓. แนวทางการพัฒนา ๓.๑ ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ภายในตำบลทุกหมู่บ้าน ๓.๒ พัฒนาและส่งเสริมกิจกรรม โครงการด้านการประกอบอาชีพต่างๆ ๓.๓ ส่งเสริมกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว
๔. ตัวชี้วัด - ประชาชนในตำบลไพรขลามีอาชีพมีรายได้ที่มั่นคงและอยู่อย่างพอเพียง
๕. กลยุทธ์ - พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชนในตำบลไพรขลา
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ป่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามาก ป่าไม่สมบูรณ์ปัญหาสภาพแวดล้อมอื่นๆก็จะตามมา องค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา ได้ร่วมกับประชาชน เยาวชน กลุ่มมวลชนร่วมกันปลูกต้นไม้เป็นแนวเขตที่สาธารณะประโยชน์และปลูกป่าทดแทน ดูแลรักษาป่า ลำธาร แม่น้ำลำคลอง จัดให้มีโครงการกำจัดวัชพืช และโครงการกำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอยและจัดหาถังขยะ
๑. วัตถุประสงค์ ๑.๑ เพื่อสร้างจิตสำนึกและตระหนักในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๑.๒ เพื่อป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๑.๓ เพื่อกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ๑.๔ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบำบัดน้ำเสียในชุมชน ๑.๕ เพื่อป้องกันการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์
๒. เป้าหมาย ๒.๑ พื้นที่ทุกหมู่บ้านในตำบลไพรขลา ๒.๒ ปลูกป่าทดแทนในที่สาธารณประโยชน์และพื้นที่รอบๆบ้านเรือน ๒.๓ จัดทำแนวเขตรอบที่สาธารณประโยชน์เพื่อป้องกันการบุกรุก
๓. แนวทางการพัฒนา ๓.๑ ส่งเสริมการดูแลป้องกันและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๓.๒ ส่งเสริมการกำจัดขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล ๓.๓ ส่งเสริมการบำบัดและฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๔. ตัวชี้วัด - ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมภายในตำบลไพรขลาได้รับการจัดการ ดูแล อนุรักษ์และฟื้นฟูเพิ่มขึ้น
๕. กลยุทธ์ - พัฒนาและส่งเสริมการบริหารจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกหมู่บ้านในตำบลไพรขลา
ยุทธศาสตร์ที่ ๗ การดำเนินงานด้านการเมืองการบริหาร องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดส่งพนักงานส่วนตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเข้ารับการอบรม เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงาน ได้อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มีติดต่อประสานงานโดยขยายเวลาทำงานพักเที่ยงและวันเสาร์-อาทิตย์ บริการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในจัดกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล ส่งเสริมประชาคม
๑. วัตถุประสงค์ ๑.๑ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง ๑.๒. เพื่อเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชนหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและอื่นๆ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายการพัฒนา ๑.๓ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเรียนรู้และเข้าใจกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารร่วมกับ อบต. ๑.๔ เพื่อให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นหรือทัศนคติที่มีต่อองค์การบริหารส่วนตำบล ๑.๕ เพื่อให้บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลมีความรู้ ความเข้าใจ ในระเบียบวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
๒. เป้าหมาย ๒.๑ พื้นที่ทุกหมู่บ้านในตำบลไพรขลา ๒.๒ บุคากรในองค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา
๓. แนวทางการพัฒนา ๓.๑ ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานของ อบต. เพื่อให้การบริการแก่ประชาชนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ๓.๒ พัฒนาปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติงาน และจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ ๓.๓ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ คุณธรรมและจริยธรรม ๓.๔ การให้บริการประชาชนทั้งในและนอกสำนักงาน อำนวยความสะดวกให้ผู้ที่มาติดงานรวมทั้งเผยแพร่ประสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้ประชาชนทราบ
๔. ตัวชี้วัด ๔.๑ ประชาธิปไตยในชุมชนมีความก้าวหน้า ชุมชนมีศักยภาพเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น ๔.๒ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการขององค์กรมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
๕. กลยุทธ์ - พัฒนาและส่งเสริมด้านการเมืองและการบริหารให้มีประสิทธิภาพ
|