"ตำบลไพรขลา ทุ่งนาข้าวมะลิหอม งามพร้อมผ้าไหมสวย ร่ำรวยวัฒนธรรม เลิศล้ำทะเลสาบทุ่งกุลา"  
 
 
ประวัติความเป็นมา
สภาพโดยทั่วไป
ตราสัญลักษณ์
คำขวัญ วิสัยทัศน์ พันธกิจ
นโยบายการพัฒนาของผู้บริหาร
บริการขั้นพื้นฐาน
สภาพทางสังคม
สภาพเศรษฐกิจ
วัฒนธรรมประเพณีชาวไพรขลา
นโยบาย
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
โครงสร้างองค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา
การบริการประชาชน
แหล่งท่องเที่ยว
 
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
 
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ศูนย์ดำรงธรรม
  กองทุนหลักประกันสุขภาพ
  เบี้ยผู้สูงอายุ
  แบบสอบถามความพึงพอใจ
  ภาพกิจกรรม
 คู่มือการพัฒนาและส่งเสริมการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันผลประโยน์ทับซ้อน
 การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
 มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
 รายงานการประชุมสภาท้องถิ่น
 การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
 การบริหารงานบุคคล
 LPA ส่วนกองการศึกษาฯ
 LPA กองช่าง
 ช่องทางการแจ้งเบาะแสป้ายโฆษณาหรือสิ่งอื่นใดที่รุกล้ำทางสาธารณะ
 การจัดทำฐานข้อมูลตลาด
 
  แผนยุทธศาสตร์
  การดำเนินงาน
  แผนดำเนินงานประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี รอบ 6 เดือน
  รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
 แผนพัฒนาท้องถิ่น
 ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
 รายงานผลการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
 รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
 การโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี
 แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณรายจ่ายประจำปี
 การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต
 แผนจัดหาพัสดุ
 แผนการส่งเสริมการท่องเที่ยว
 แผนแม่บทระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ
 
การปฏิบัติงาน
  มาตรฐานการปฏิบัติงาน
 
การให้บริการ
  ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
  มาตรฐานการให้บริการ
  รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
 นโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
 
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
  ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
  แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ รอบ 6 เดือน
  รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
 
การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
  แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
  ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  ผลประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง
  สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน
  รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
 
  นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
  การดำเนินการตามนโยบายการบริหาร ทรัพยากรบุคคล
  แผนอัตรากำลัง
  หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
  รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
 แผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
 การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
 หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
 รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
 ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
 
การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบ
  แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ  
 
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
  การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น  
 
การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
  นโยบายไม่รับของขวัญ (์No Gift Policy)
  การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
 
การประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริต
  การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี
  การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ
 แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
 
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
  การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรตามมาตรฐานทางจริยธรรม
 แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต 5 ปี (พ.ศ.2566-2570)
 
แผนป้องกันการทุจริต
  แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปีรอบ 6 เดือน
  รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
 
มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน
  มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
  การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
 การขับเคลื่อนจริยธรรม
 การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
 มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
 รายงานผลการดำเนินการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
 
  พ.ร.บ./พ.ร.ก.
  กฎกระทรวง/ระเบียบฯ
  ระเบียบกฏหมายอื่นๆ
 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-13
 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 ระเบียบการใช้และรักษารถยนต์
 รวมระเบียบ การรับเงิน การเบิกเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน
 
 
แบบสำรวจความคิดเห็น
ท่านต้องการให้ อบต. พัฒนาในส่วนใดมากที่สุด
ด้านการคมนาคม
ด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูล
ด้านการส่งเสริมอาชีพในตำบล
ด้านระบบอินเตอร์เน็ตตำบล
ด้านระบบสาธารณูปโภค
 
 
 
 
 
 
วัฒนธรรมประเพณีชาวไพรขลา
_______________________________________________________________________________________
วัฒนธรรมประเพณีชาวไพรขลา
 

วัฒนธรรมประเพณี

งานบุญและประเพณีของชาวไพรขลา

งานบุญและประเพณีประจำเดือนหนึ่ง

ที่ตำบลไพรขลามีงานบุญและประเพณีประจำในเดือนหนึ่ง ประกอบด้วย งานบุญสวดเจริญพระพุทธมนต์รอยพระพุทธบาทบนต้นมะม่วง ที่บ้านโพนม่วง-ม่วงสวรรค์ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่บรรพบุรุษชาวโพนม่วงบอก เล่าลูกหลานไว้คือ แต่เริ่มเมื่อมีการเข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่นั้นเนิ่นบ้านจะมีต้นมะม่วงใหญ่อยู่ต้นหนึ่งที่เนินกลางหมู่บ้าน และมีเต่ายักษ์อยู่ตัวหนึ่งขนาดเท่ากับกระด้ง อาศัยอยู่ที่หนองกลางบ้าน รุ่นแรกที่เข้ามาอยู่ต่างให้ความเคารพที่ต้นมะม่วง และเต่ายักษ์ผ่านไปสักห้าสิบปีรุ่นหลานที่โตมาด้วยความคุ้นเคยกับเต่าด้วยเล่นกันประจำไม่เคารพแล้วและมีหนุ่มคะนองเจ็ดคนใจบาปทำการฆ่าเต่าและแบ่งเนื้อกันกิน ในคืนนั้นเองได้เกิดเหตุอาเพส ขึ้นมีลมพัดแรงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้ต้นมะม่วงหักโค่นกิ่งลง คนที่กินเต่าล้วนนอนตายหมดทุกคน และต้นมะม่วงยักษ์ก็เริ่มยืนต้นแห้งตายไปในที่สุด คืนนั้นมีผู้สูงอายุฝันว่ามีผู้เฒ่านุ่งขาวมาบอกและสาปแช่งว่า ต่อไปจะไม่ดูแลคนที่อยู่บนเนินนี้ต่อไปอีกแล้วเพราะมีความหยาบช้า บ้านนี้ตราบเมื่อใดมีคนตายเป็นเบือ และมีคนสวดมนต์อ้อนวอนขอพึ่งพาเทวดาพระพุทธทุกวันจึงจะกลับมาดูแลอีกครั้ง และจะอันเชิญรอยพระพุทธบาทมาให้ชาวบ้านได้บูชาด้วย ต่อมาประเทศไทยได้มีการเกิดโรคอหิวาร์ระบาดในช่วงสมัยรัชกาลที่ 2 ชาวบ้านโพนม่วงมีคนตายลงจำนวนมาก นับร้อยคน และหลายร้อยครอบครัวต่างพากันอพยพทิ้งหมู่บ้านไปเพราะกลัวคำสาป ช่วงที่มีคนตายเยอะขึ้นนี้เองทำให้ผู้ที่เคยฟังเรื่องเล่าของผู้เฒ่าต่างเริ่มสวดมนต์ทำบุญให้ทั้งคนตายและคนเป็น จนมาถึงคืนหนึ่งในขึ้นหนึ่งค่ำเดือนอ้าย ย่ำดึกแล้วชาวบ้านต่างตกใจกับเสียงอึกทึกแต่ไม่มีใครกล้าออกจากบ้าน มีทั้งเสียงปี่พาท ช้างม้า และเสียงเหมือนเพลง บรรเลงมาจากทิศตะวันออกไปตามถนนกลางบ้านและหายไปตรงที่เคยเป็นหนองกลางบ้านที่ตอนนี้มีต้นมะม่วงใหญ่สองต้นขึ้นกลางเนินหนองอยู่ รุ่งเช้าชาวบ้านต่างออกมาสอบถามกันว่าได้ยินเหมือนกันไหม และมีเรื่องที่น่าตื่นเต้นคือมีชาวบ้านที่ไปหาหน่อไม้ข้างหนองกลางบ้านมาบอกว่า พบ รอยเท้า ช้าง ม้า รอยเท้าคน และรอยเท้าขนาดยักษ์รอยหนึ่งลักษณะเหมือนเดินขึ้นต้นไม้ คืนต่อมามีคนฝันว่ามีคนนุ่งขาวห่มขาวมาบอกว่าบัดนี้หมดเงื่อนไขในคำสาบแล้ว ขอให้ชาวบ้านมั่นทำบุญ ต่อไปภายหน้าแม้จะขุดหนองเอาน้ำก็จะได้เงิน รอยพระพุทธบาทที่อัญเชิญมานี้ จะปรากฎให้เห็นไปไม่นานแต่ไม่ต้องกลัว หากรอยหายไปเมื่อไร ขอให้ร่วมใจกันสร้างรอยใหม่ขึ้นมา ความศักดิ์สิทธ์ก็จะมีเหมือนเดิม ชาวบ้านจะอยู่ดีกินดีเรื่อยไปตราบที่ชาวบ้านยังมั่นทำบุญทำกุศลอยู่

นับตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านโพนม่วงจะมีประเพณีสวดเจริญพระพุทธมนต์สืบเนื่องยาวนานตลอดมาแม้ปัจจุบันพื้นที่บริเวณหนองเก่านี้จะอยู่ในเขตหมู่ที่เจ็ดซึ่งแยกออกมา แต่ชาวบ้านโพนม่วงก็ร่วมทำบุญอย่างสามัคคีดีตลอดมา เป็นที่น่าอัศจรรย์นัก ต่อมาแม้ในรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 5 แม้จะมีการระบาดของโรคอหิวาร์อีกครั้งแต่ก็ไม่มีคนตายลงเป็นร้อยเหมือน ในสมัยรัชกาลที่ 2 อีกเลยที่โพนม่วง

งานบุญและประเพณีประจำเดือนสอง

ชาวตำบลไพรขลา กลุ่มภาษาถิ่นเขมร จะมีบุญประเพณี แซนเลียน แซนยุง เป็นบุญหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยการประพรมน้ำพุทธมนต์ ยุ้งฉางลานข้าว ทำขวัญข้าว กลุ่มภาษาถิ่นลาวเรียก บุญคูนลาน มีการประพรมน้ำพุทธมนต์ ยุ้งฉางลานข้าว ทำขวัญข้าว และ เก็บฟืนไว้ใช้

งานบุญและประเพณีประจำเดือนสาม

ในเดือนสามนี้ ชาวตำบลไพรขลาจะไปวัดทำบุญกันใน วันมาฆบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม ทำบุญตักบาตรที่วัดกัน และมี บุญกองข้าวใหญ่ ที่บ้านตาเฮอ บุญข้าวจี่ที่บ้านไพรขลาโดยเป็นการถวายอาหารพระที่วัดช่วงเช้าตรู่มีการนำข้าวจี่ไปถวายพระด้วย สายมาหน่อยก็นิมนต์หลวงพ่อเทศน์ สั่งสอนด้านพระธรรม ทุกหมู่บ้านมีการบวงสรวงปูตาของแต่ละบ้าน ที่ศาลเจ้าพ่อท่าไทรข้างที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลาจะมีการแก้บนเนืองๆตลอดช่วงเดือนนี้เนื่องจากเป็นเดือนที่กลุ่มพ่อค้าได้เก็บเงินและสรุปบัญชีประจำปี ที่มีกำไรก็มาแก้บนกัน

งานบุญและประเพณีประจำเดือนสี่

เดือนสี่จะมี ที่บ้านไพรขลาและที่มีภาษาถิ่นลาว เรียกกัน บุญพระเวส ส่วนบ้านขาม บ้านโพนม่วง ที่มีภาษาถิ่นเขมรเรียกบุญเทศน์มหาชาติแต่มีกิจกรรมเหมือนกันคือเป็นการเลี้ยงพระและฟังเทศน์มหาชาติมีกิจกรรมที่สำคัญ คือ แห่น้ำอุปคุต เทศน์มาลัยหมื่น มาลัยแสน เทศน์มหาชาติ

งานบุญและประเพณีประจำเดือนห้า

บุญสงกรานต์ ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ให้เอาดอกไม้ธูปเทียน ไปวัด เลี้ยงภัตตาหารพระสงฆ์ ฟังเทศน์ มีบายศรีสู่ขวัญ เอาน้ำหอมผสมขมิ้นรดสรงแก่ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้ที่เคารพนับถือ ชาวไพรขลาจะมีการเอาทรายเข้าวัด แห่พระ ทรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ มีความเฉพาะพิเศษที่บ้านโพนม่วง จะมีประเพณีเรือมตรดด้วย ซึ่งจะกระทำกันในวันแห่พระขึ้นประดิษฐาน ณ แท่นบูชาเดิม

งานบุญและประเพณีประจำเดือนหก

ตำบลไพรขลามี ประเพณีประจำปีของทุกหมู่บ้านคือประเพณีบวชนาค โดยจะมีการอุปสมบทหมู่กันที่วัดของบ้านโพนม่วง บ้านขาม และบ้านไพรขลา ที่ยังมีการใช้ช้างแห่อยู่ก็คือบ้านไพรขลา

งานบุญในเดือนนี้ คือวันวิสาขบูชา วันเพ็ญเดือนหก

ประเพณีเจ๊าะแซร หรือวันลงมือทำนา ของภาษาถิ่นเขมร หรือประเพณีตาแฮก ของภาษาถิ่นลาว ภาษาถิ่นเขมร"แซร" แปลว่า นา หรือ ที่นา การประกอบอาชีพทำนาของชาวบ้าน จะขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศเป็นสำคัญ เนื่องจากการ ทำนาจะทำได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ดังนั้นการทำนา จึงต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก พิธีกรรมที่สำคัญของการแซนแซร์ จะกระทำอยู่ 3 ขั้นตอน คือ

1 ทำก่อนลงมือปักดำ เรียกว่า "ยัวงัย" (เอาวัน) เป็นการกำหนดวันที่จะลงมือปักดา หรือไถนาดะ โดยจะนำ เครื่องเซ่นไหว้ ไปบอกเจ้าที่นาก่อน เพื่อให้เจ้าที่ได้รับทราบว่าจะลงมือปักดำแล้ว

2 ทำหลักเสร็จสิ้นการปักดำ เป็นการบอกเจ้าที่ให้ช่วยดูแลต้นข้าว ให้เจริญงอกงาม ให้ได้ผลผลิตมากๆ

๓ ทำหลักการเก็บเกี่ยว เป็นการบอกขอบคุณเจ้าที่นา ที่ช่วยให้การทำนา ในครั้งนี้ได้ผลดี

วัน เวลา ปฏิบัติในฤดูการทำนา และจะทำพิธีในตอนเช้า

ที่ศาลเจ้าพ่อท่าไทรข้างที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลาจะมีการเซนไหว้ตลอดเดือนเพราะกลุ่มพ่อค้าจะเริ่มฤดูการออกเร่หรือการเริ่มธุรกิจของปี มาขอพร และบนบานกันไว้

งานบุญและประเพณีประจำเดือนแปด

บุญเข้าพรรษา เอาข้าวตอก ดอกไม้ ขี้ผึ้ง ธูปเทียนไปรวมกันที่วัด ฟังเทศน์ อุณณหัสสาวิไชย และปัญญาบารมี หล่อเทียนพรรษาถวายวัด ถวายปัจจัย เช่น ข่าวสาร อาหารแห้งน้ำมันแก่พระเพื่อใช้ในพรรษา

งานบุญและประเพณีประจำเดือนเก้า

บุญข้าวประดับดิน เลี้ยงภัตตาหารสงฆ์ ทำบังสุกุลส่งบุญไปให้ผู้ตายฟังสวดพาหุง อาหารเซ่นผีไปวางตามพื้นดิน ตามป่า เพื่อผีไม่มีญาติจะได้กิน

งานบุญและประเพณีประจำเดือนสิบ

ประเพณีแซนโฎนตา คนตำบลไพรขลาจะมีเหมือนกันทั้งกลุ่มภาษาถิ่นลาวและเขมร จัดวันเดียวกัน เป็นประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญและปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนาน แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ความรัก ความผูกพันใน เครือญาติรวมถึงหมู่บ้านต่างๆ โดยพิธีกรรมสำคัญจะตรงกับวันแรม 14 ค่ำเดือน10 ของทุกปี ลูกหลานที่ไปทำงานหรือตั้งถิ่นฐานที่อื่น ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล เดินทางกลับมารวมญาติเพื่อทำพิธีแซนโฎนตา ( เส้นไหว้บรรพบุรุษ ) อย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันทุกหมู่บ้าน

งานบุญและประเพณีประจำเดือนสิบเอ็ด

วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งชาวไพรขลา เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษาในวันนี้ วันออกพรรษาตามปกติ (ออกปุริมพรรษา1) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน เมื่อถึงวันออกพรรษา ชาวตำบลไพรชลาจะถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้

ที่บ้านโพนม่วงจะมีประเพณีควบคู่กันคือ มีบุญแข่งเรือและกลางคือมีประเพณีรำบวงสรวงกวนข้าวทิพย์ด้วย

ประเพณีแข่งเรือ เป็นประเพณีหน้าน้ำของชาวโพนม่วง เป็นการละเล่นในยามน้ำหลากที่สืบทอดมาแต่โบราณ ช่วยสร้างบรรยากาศให้งานบุญครึกครื้นในวันออกพรรษา แข่งเรือ เป็นการละเล่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวโพนม่วงที่อยู่อาศัยใกล้น้ำลำพลับพลา ในช่วงเดือนสิบเอ็ด ชาวบ้านเว้นว่างจากการทำนา เป็นโอกาสที่หนุ่มสาวได้พบปะเกี้ยวพาราสีกัน ได้เห็นฝีไม้ลายมือของชายอกสามศอก ได้เห็นความสามัคคีพร้อมเพรียงของเหล่าหนุ่มฝีพาย

ประเพณีการกวนข้าวทิพย์ ชาวบ้านโพนม่วงได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีขั้นตอนการปฎิบัติโดย.... เริ่มจากวันก่อนออกพรรษา 1 วัน คือวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ทางวัดได้ประกาศให้พุทธศาสนิกชน นำวัตถุดิบที่มี มาบริจาค โดยทางวัดได้จัดทำบัญชีรับบริจาค โดยอุบาสกอุบาสิกา ได้ลงมาวัดและเตรียมอุปกรณ์ วัตถุดิบต่างๆเช่นขูดมะพร้าว ปอกเปลือกผลไม้ นำมาบด นำมาตำ ละลายน้ำกะทิกรองเอาแต่น้ำ ในหมู่บ้านที่มีคนบริจาคมากจะได้น้ำแป้งกะทิมาก

ช่วงบ่ายสองโมงจะมีการเตาไฟ อุบาสิกา จะนำน้ำเครื่องทิพย์ มาเทลงกะทะ บนเตาไฟแล้วเติมฟืนที่เตรียมมา โดยชาวบ้านจะติดเตาไฟ 2 - 4 เตา เพื่อที่จะได้กวนช่วยกันจะใช้เวลากวน ประมาณ 30 -40 นาที น้ำเครื่องทิพย์จะจับตัวกันเป็นวุ้นเนื้อเดียวกัน โดยไม่ติดกะทะก็ถือว่าสุกได้ที่ นำมาเทใส่ถาดแบนแล้วโรยหน้าด้วย ถั่วงา นำไว้ถวายพระ ช่วงกลางคืนเวลา 1 ทุ่มจะนำนางรำที่คัดเลือกไว้และฝึกรำบวงสรวงจนดีแล้วมารำบวงสรวงรอบเตาที่ตั้ง สมมุติตัวแทนของนาง สุชาดา ผู้นำข้าวมธุปายาส มาถวายพระพุทธเจ้า ในวันรุ่งขึ้น ซึ่งเป็น เช้าของวันออกพรรษา 15 ค่ำ เดือน 11 วันตักบาตรเทโวโรหนะ

การตักบาตรเทโวโรหณะ ในวันออกพรรษา หมายถึง การทำบุญตักบาตรพระพุทธเจ้า และเทวดาที่เสด็จลงมาจากเทวโลก สรวงสวรรค์ หลังจากพระองค์ เสด็จขึ้นไปจำพรรษา เพื่อเทศนาโปรดพระมารดา เป็นเวลา 3 เดือน ชาวเมืองจึงมีความปิติยินดี ได้ทำบุญตักบาตร ให้พระพุทธเจ้าและเทวดา โดยการจัดทำอาหารวิเศษ ขึ้นมา เรียกว่า "ข้าวทิพย์" เทโวโรหณะ "การลงจากเทวโลก" หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตำนานเล่าว่า ในพรรษาที่ ๗ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษาใน ดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาพร้อมทั้งหมู่เทพ ณ ที่นั้น เมื่อถึงเวลาออกพรรษาในวันมหาปวารณา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับคืนสู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสสะ โดยมีเทวดาและมหาพรหมทั้งหลายแวดล้อมลงมา ส่งเสด็จ ฝูงชนจำนวนมากมายก็ได้ไปคอยรับเสด็จ กระทำมหาบูชาเป็นการเอิกเกริกมโหฬารและพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุคุณวิเศษจำนวนมาก ชาวพุทธในภายหลังได้ปรารภเหตุการณ์พิเศษครั้งนี้ถือเป็นกาลกำหนดสำรับบำเพ็ญการกุศล ทำบุญตักบาตรคราวใหญ่แด่พระสงฆ์ เป็นประเพณีนิยมสืบมาดังปรากฏในประเทศไทย เรียกกันว่าตักบาตรเทโวโรหณะ หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า ตักบาตรเทโว บางวัดก็จัดพิธีในวันออกพรรษา คือวัน มหาปวารณา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดจัดถัดเลยจากนั้น ๑ วัน คือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑

งานบุญและประเพณีประจำเดือนสิบสอง

ประเพณีการทอดกฐิน ในแต่ละปีกำหนดให้มีการจัดทอดกฐินขึ้นภายใน ๑ เดือน หลังประเพณีออกพรรษา โดยวัดที่จะสามารถรับกฐินได้ ต้องมีพระภิกษุจำพรรษาโดยไม่ขาดพรรษาเลย ไม่ต่ำกว่า ๕ รูป และแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละ ๑ ครั้ง การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน ที่ตำบลไพรขลาจะจัดกันทุกวัดทั้งสี่วัด กำหนดการนั้น

ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณที่ชาวไพรขลาปฏิบัติสืบทอดมายาวนาน ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก ที่ตำบลไพรขลาที่จัดประจำทุกปีคือ บ้านโพนม่วงและบ้านขาม

 
 
 
อบต.ไพรขลา อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ โทรศัพท์ 044-545132-3 , โทรสาร 044-545168
การแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดในระบบ Google Chrome, Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer 8 ขึ้นไป
สงวนลิขสิทธิ์ © โดย MediaCreativeCenter 08-7776-6615
หน้าแรก  I  สถานที่สำคัญ  I  ผลิตภัณฑ์ตำบล  I  กระดานถาม-ตอบ  I  แผนผังเว็บไซต์  I  ติดต่ออบต.