"ตำบลไพรขลา ทุ่งนาข้าวมะลิหอม งามพร้อมผ้าไหมสวย ร่ำรวยวัฒนธรรม เลิศล้ำทะเลสาบทุ่งกุลา"  
 
 
ประวัติความเป็นมา
สภาพโดยทั่วไป
ตราสัญลักษณ์
คำขวัญ วิสัยทัศน์ พันธกิจ
นโยบายการพัฒนาของผู้บริหาร
บริการขั้นพื้นฐาน
สภาพทางสังคม
สภาพเศรษฐกิจ
วัฒนธรรมประเพณีชาวไพรขลา
นโยบาย
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
โครงสร้างองค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา
การบริการประชาชน
แหล่งท่องเที่ยว
 
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
 
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ศูนย์ดำรงธรรม
  กองทุนหลักประกันสุขภาพ
  เบี้ยผู้สูงอายุ
  แบบสอบถามความพึงพอใจ
  ภาพกิจกรรม
 คู่มือการพัฒนาและส่งเสริมการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันผลประโยน์ทับซ้อน
 การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
 มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
 รายงานการประชุมสภาท้องถิ่น
 การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
 การบริหารงานบุคคล
 LPA ส่วนกองการศึกษาฯ
 LPA กองช่าง
 ช่องทางการแจ้งเบาะแสป้ายโฆษณาหรือสิ่งอื่นใดที่รุกล้ำทางสาธารณะ
 การจัดทำฐานข้อมูลตลาด
 
  แผนยุทธศาสตร์
  การดำเนินงาน
  แผนดำเนินงานประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี รอบ 6 เดือน
  รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
 แผนพัฒนาท้องถิ่น
 ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
 รายงานผลการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
 รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี
 การโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี
 แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณรายจ่ายประจำปี
 การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต
 แผนจัดหาพัสดุ
 แผนการส่งเสริมการท่องเที่ยว
 แผนแม่บทระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ
 
การปฏิบัติงาน
  มาตรฐานการปฏิบัติงาน
 
การให้บริการ
  ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
  มาตรฐานการให้บริการ
  รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
 นโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
 
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
  ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
  แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ รอบ 6 เดือน
  รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
 
การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
  แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
  ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  ผลประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง
  สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน
  รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
 
  นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
  การดำเนินการตามนโยบายการบริหาร ทรัพยากรบุคคล
  แผนอัตรากำลัง
  หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
  รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
 แผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
 การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
 หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
 รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
 ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
 
การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบ
  แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
  ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ  
 
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
  การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น  
 
การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
  นโยบายไม่รับของขวัญ (์No Gift Policy)
  การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
 
การประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริต
  การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี
  การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ
 แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
 
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
  การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรตามมาตรฐานทางจริยธรรม
 แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต 5 ปี (พ.ศ.2566-2570)
 
แผนป้องกันการทุจริต
  แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปีรอบ 6 เดือน
  รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
 
มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน
  มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
  การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
 การขับเคลื่อนจริยธรรม
 การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
 มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
 รายงานผลการดำเนินการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
 
  พ.ร.บ./พ.ร.ก.
  กฎกระทรวง/ระเบียบฯ
  ระเบียบกฏหมายอื่นๆ
 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-13
 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 ระเบียบการใช้และรักษารถยนต์
 รวมระเบียบ การรับเงิน การเบิกเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน
 
 
แบบสำรวจความคิดเห็น
ท่านต้องการให้ อบต. พัฒนาในส่วนใดมากที่สุด
ด้านการคมนาคม
ด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูล
ด้านการส่งเสริมอาชีพในตำบล
ด้านระบบอินเตอร์เน็ตตำบล
ด้านระบบสาธารณูปโภค
 
 
 
 
 
 
สภาพโดยทั่วไป
_______________________________________________________________________________________
สภาพโดยทั่วไป
 

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

๑. ด้านกายภาพ
   ๑.๑ ตำบลไพรขลา มีเนื้อที่ประมาณ ๓๕,๑๗๕ ไร่ หรือ ๕๖.๒๘ ตารางกิโลเมตร ห่างจากอำเภอชุมพลบุรี ๑๗ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ ๖๘ กิโลเมตร
- ทิศเหนือ จดตำบลดงครั่งใหญ่ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
- ทิศใต้ จดตำบลหนองเรือ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
- ทิศตะวันออก จดตำบลทุ่งกุลาและ ตำบลพรมเทพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
- ทิศตะวันตก จดตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

  ๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปมีสภาพเป็นที่ราบลุ่ม อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ หน้าฝนมีน้ำท่วมขังทั่วไป หน้าแล้งเป็นพื้นที่ ที่แห้งแล้งไม่มีน้ำ ลักษณะทางกายภาพของดินเป็นดินร่วนปนทราย มีคุณสมบัติเป็นดินเค็มและเปรี้ยว พื้นที่ทั้งหมดใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตร ได้แก่การทำนาเป็นต้น มี ๓ ดูกาล (ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว)

   ๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื่น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี ๓ ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง ๓๕ – ๓๙.๙ องศาเซลเซียส ร้อนจัดมีอุณหภูมิประมาณ ๔๐ องศาเซลเซียสขึ้นไป
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม แต่อาจเกิด“ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ ๑ – ๒ สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม แต่ในเขตตำบลไพรขลาไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว ๑-๒ สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณภูมิต่ำสุด ประมาณ ๑๕ องศา
   ๑.๔ ลักษณะของแหล่งน้ำ มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ อุปโภค-บริโภค แหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่องค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลาได้ดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างขึ้นใหม่ เพื่อให้เพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชน ดังนี้

แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ,ลำห้วย จำนวน ๖ แห่ง - สระน้ำ,ลำคลอง จำนวน ๓๐ แห่ง
- บึง,หนองน้ำ จำนวน ๔๗ แห่ง

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- แก้มลิง จำนวน ๑ แห่ง
- ฝาย จำนวน ๘ แห่ง
- บ่อบาดาล จำนวน ๑๕ แห่ง
- ประปา จำนวน 11 แห่ง

   ๑.๕ ลักษณะของไม้และป่าไม้ ในเขตตำบลไพรขลาไม่มีป่าไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น และไม้เศรษฐกิจ เช่น ไม้ยูคา

 ๒. ด้านการเมือง/การปกครอง
ตำบลไพรขลา มีทั้งหมด ๑๒ หมู่บ้าน ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี จนได้รับประกาศนียบัตรจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสุรินทร์ ว่าประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้งเกินร้อยละ ๗๐ บัตรเลือกตั้งเสียไม่เกินร้อยละ ๒ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ปัญหาคือการแข่งขันทางการเมืองค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภา นายกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเฉพาะ การคัดเลือกผู้ใหญ่บ้าน การแก้ไขปัญหาของตำบลไพรขลาคือ ขอความร่วมมือ ผู้นำ เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบให้ระมัดระวัง สอดส่องพฤติกรรมและให้รายงานอำเภอทราบ การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เกี่ยวกับข้อกฎหมายของการเลือกตั้งที่กระทำได้และทำไม่ได้ให้ประชาชนได้รับทราบ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นตำบลไพรขลาก็ได้พยายามแก้ไข โดยเรื่องจากการประชุมประชาคมท้องถิ่นทุกหมู่บ้านในเขตตำบลไพรขลา ในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลไพรขลา จากผลการประชุมทุกครั้งที่องค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลาจัดขึ้น มีประชาชนสนใจเข้าร่วมประชุมรวมทั้งแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา ดำเนินงานตามความต้องการของประชาชน และประชาชนได้รับและมีส่วนร่วมในการพัฒนาตำบล นอกจากนี้ องค์การบริหารส่วนตำบล ได้จัดโครงการอบรมศึกษา ดูงาน ของคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา พนักงานส่วนตำบล และโครงการอื่นๆ สำหรับประชาชนอีกหลายโครงการ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาตำบลให้เจริญเท่าเทียมกับตำบลอื่นๆ และองค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา มีโครงการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ บางโครงการต้องระงับไว้เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ มีอัตรากำลังพนักงานส่วนตำบลจำกัด ไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชนในด้านบริการ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา แบ่งเขตการปกครอง ดังนี้
   


 

 ๔. สภาพทางสังคม
 

๔.๒ สาธารณสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ๒ แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไพรขลา มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๔ คน แยกเป็น
- นักวิชาการสาธารณสุข ๒ คน
- พยาบาลวิชาชีพ ๑ คน
- เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ๑ คน
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ๕๑ คน
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโพนม่วง มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๒ คน แยกเป็น
- นักวิชาการสาธารณสุข - คน
- พยาบาลวิชาชีพ ๑ คน
- ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๑ คน
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ๕๙ คน

๔.๓ การสังคมสังเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา ได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
๑. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ เป็นประจำทุกเดือน
๒. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
๓. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
๔. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
๕. ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน

 ๕. ระบบบริการพื้นฐาน

. การคมนาคม
- ทางหลวงหมายเลข ๒๐๘๑ สายชุมพลบุรี – ท่าตูม จำนวน ๑ สาย
- ถนน รพช. ผ่านตำบล จำนวน ๓ สาย
- ถนนภายในหมู่บ้าน จำนวน ๑๒ หมู่บ้าน

. การโทรคมนาคม
- โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๑๒ หมู่บ้าน

. การไฟฟ้า
- ไฟฟ้าเข้าถึง จำนวน ๑๒ หมู่บ้าน

๖. ระบบเศรษฐกิจ

. อาชีพ
- ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และรับจ้างทั่วไป หลังจากว่างเว้นฤดูการเก็บเกี่ยวจะมีการทอผ้าไหม ฐานะประชากรโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางกึ่งต่ำ

. ผลิตภัณฑ์ตำบล
- ข้าวหอมมะลิ ประชากรส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิ ๑๐๕ มีพื้นที่เกษตรกรรม ประมาณ ๒๔,๗๘๓ ไร่ ผลิผลิตเฉลี่ย ๔๐๐ กิโลกรัม / ไร่
- หมู่บ้านทอผ้าไหมราษฎรในตำบลไพรขลาปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเอง ทอผ้าไหมลายพื้นบ้านเป็นเอกลักษณ์ของตนเองแต่เดิมผลิตเพื่อไว้ใช้เองต่อมาได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลาและได้รับการสนับสนุนด้านการตลาดจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชุมพลบุรี ทำให้สามารถผลิตและจำหน่ายได้ทำให้สมาชิกกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น
- ร้านค้าชุมชน หมู่ที่ ๖ ศูนย์สาธิตการตลาด หมู่ที่ ๗ เป็นการดำเนินงานโดยสมาชิกของกลุ่มที่เข้มแข็งทำให้มีผลกำไร เป็นลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิกกลุ่มและราษฎรในหมู่บ้านเป็นอย่างดี

๗. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
๑. การศาสนา ศาสนาที่ประชาชนในเขตตำบลไพรขลานับถือ คือ ศาสนา พุทธ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ มีวัด / สำนักสงฆ์ ๔ แห่ง ดังนี้
. วัดสระบัวงาม บ้านขาม หมู่ที่ ๒
๒. วัดศรัทธาวารี บ้านไพรขลาน้อย หมู่ที่ ๔
๓. วัดทุ่งสำราญ บ้านตาเฮอ หมู่ที่ ๕
๔. วัดอัมภาวารินทร์ บ้านโพนม่วง หมู่ที่ ๑๐

.วัฒนธรรม ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ภาษาท้องถิ่นดังนี้ ภาษาอีสาน คิดเป็นร้อยละ ๕๙ ภาษาเขมรคิดเป็นร้อยละ ๓๙ ภาษาส่วยคิดเป็นร้อยละ ๑ ภาษาไทยคิดเป็นร้อยละ ๑ นับถือขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้านแบบดั้งเดิม เช่น ประเพณีแห่นาค อุปสมบท ช่วงเดือน ๖ ของทุกปี หรือช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม ของทุกปี จะมีพิธีอุปสมบทหมู่ โดยใช้ช้างเป็นพาหนะในการแห่นาคไปรอบหมู่บ้านดังกล่าว และประเพณีวันสารทหรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “โฎนตา” เป็นงานสำคัญ และยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันเรื่อยมากำหนดงานจะมีขึ้นในช่วงเดือน ๑๐ ของทุกปี แบ่งได้ ๒ ช่วงคือ ช่วงที่ ๑ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เรียกว่า “สารทเล็ก” หรือ “เบ็ญตู๊จ” ประชาชนจะพากันไปทำบุญตักบาตรที่วัด ช่วงที่ ๒ ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เรียนว่า “สารทใหญ่” หรือ “เบ็ญทม” ทุกครอบครัวจะทำพิธีเซ่นไหว้ ซึ่งเรียกวิญญาณของพี่น้องหรือบรรพบุรุษที่ตายไปแล้วให้มารับของเซ่นไหว้ ซึ่งเรียกว่า “แซนโฎนตาโฎนยาย” ญาติพี่น้องที่ไปอยู่ที่อื่นก็กลับมารวมกัน เพื่อร่วมพิธีดังกล่าว ตอนกลางคืนก็จะไปทำบุญและฟังพระสวดที่วัด มีการทำบุญกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร รุ่งเช้า ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ก็จะไปทำบุญตักบาตรที่วัดเป็นอันเสร็จพิธี

๓. ด้านวัฒนธรรมประเพณี หากเอาฮีตสิบสอง – คองสิบสี่ ของลาวอีสานส่วนใหญ่มาเปรียบเทียบจะพบว่าชุมชนไพรขลาจะแปลกออกไปในบางอย่าง ซึ่งเป็นการหล่อหลอมรวมกันของวัฒนธรรมลาว ส่วย เขมร
อีต ๑๒ คือ ประเพณีทางศาสนาทั้ง ๑๒ เดือน ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวโดยรวมได้แก่
เดือน ๕ บุญสงกรานต์ ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ให้เอาดอกไม้ธูปเทียน ไปวัด เลี้ยงภัตตาหารพระสงฆ์ ฟังเทศน์ มีบายศรีสู่ขวัญ เอาน้ำหอมผสมขมิ้นรดสรงแก่ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้ที่เคารพนับถือ
เดือน ๖ บุญบั้งไฟ ทำพิธีส่งบั้งไฟไปขอฝนจากพญาแถน เป็นการทำบุญเลี้ยงพระก่อนหน้าการทำนา แห่บั้งไฟเป็นการรื่นเริงสนุกสนาน
เดือน ๗ บุญซำฮะ เป็นการทำบุญเพื่อล้างสิ่งชั่วร้าย เช่น ผีบ้านเรือน หลักเมืองเพื่อความเป็นสิริมงคลของปี นิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์เย็นและตอนเช้ามีการเลี้ยงพระ ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ทำความสะอาดบ้าน เช่น ผีประจำหมู่บ้าน ผีปู่ย่าตายาย ผีไร่นา ผีหลักเมือง
เดือน ๘ บุญเข้าพรรษา เอาข้าวตอกดอกไม้ ขี้ผึ้ง ธูปเทียนไปรวมกันที่วัด ฟังเทศน์ อุณณหัสสาวิไชย และปัญญาบารมี หล่อเทียนพรรษาถวายวัด ถวายปัจจัย เช่น ข่าวสาร อาหารแห้งน้ำมันแก่พระเพื่อใช้ในพรรษา
เดือน ๙ บุญข้าวประดับดิน เลี้ยงภัตตาหารสงฆ์ ทำบังสุกุลส่งบุญไปให้ผู้ตายฟังสวดพาหุง อาหารเซ่นผีไปวางตามพื้นดิน ตามป่า เพื่อผีไม่มีญาติจะได้กิน
เดือน ๑๐ บุญข้าวสาก เป็นการถวายสลากภัตรแก่พระสงฆ์ พระเณรรูปใดจับสลากได้ของผู้ใด ผู้น้ำถวายสิ่งของแก่พระสงฆ์ และเอาอาหารสำหรับเปรตไปแขวนไว้ตามต้นไม้ ถวายผ้าอาบน้ำ
เดือน ๑๑ บุญออกพรรษา ถวายภัตตาหารพระสงฆ์มีพิธีถวายปราสาทผึ้ง ไหลเรือไฟ (คล้ายลอดกระทงของภาคกลาง) ตักบาตรเทโว
เดือน ๑๒ บุญกฐิน ถือว่าเป็นบุญที่ให้กุศลแรง ถวายผ้ากฐิน
เดือนอ้าย บุญเข้ากรรม เลี้ยงพระ เนื่องในพิธีที่พระสงฆ์ผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส มาขอแสดงอาบัติของตนแก่ที่ประชุมสงฆ์
เดือนยี่ บุญคูนลาน เป็นบุญหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยการประพรมน้ำพุทธมนต์ ยุ้งฉางลานข้าว ทำขวัญข้าว เก็บฟืนไว้ใช้
เดือนสาม บุญข้าวจี่ ถวายอาหารพระที่วัด ฟังเทศน์ ฟังธรรมมีการนำข้าวจี่ไปถวายพระด้วย
เดือนสี่ บุญพระเวส เป็นการเลี้ยงพระและฟังเทศน์มหาชาติมีกิจกรรมที่สำคัญ คือ แห่กัณฑ์หลอน แห่ข้าวพันก้อน เทศน์มาลัยหมื่น มาลัยแสน อ่านสังกาส เทศน์มหาชาติ 

เดือน

ประเพณีเฉพาะชุมชนบ้านไพรขลา

หมายเหตุ (ภาษา)

อ้าย

-

 

- หมู่บ้านที่พูดภาษาเขมรหรือมีวัฒนธรรมแบบชุมชน
เขมร คือ หมู่ที่ ๒,๕,๖,๗,๑๐
บางส่วน

- หมู่บ้านที่พูดภาษาลาวหรือมีวัฒนธรรมแบบชุมชนลาว ไพรขลาคือ

หมู่ที่ ๑,๔,๘,๙,๓,๑๑,๑๒ บางส่วน

- หมู่บ้านที่พูดภาษาส่วยหรือมีวัฒนธรรมแบบชุมชนส่วย ไพรขลาคือ หมู่ที่ ๑ บางส่วน

ยี่

-

สาม

ข้าวจี่,กุ้มข้าวใหญ่ (คูณลาน) เลี้ยงบ้าน

สี่

แต่งงาน,บุญผะเวส,รำมะม๊วด (แม่มด)

ห้า

เนา สงกรานต์

หก

บวชนาคช้าง เลี้ยงพญาพ่อปู่

เจ็ด

-

แปด

เข้าพรรษา

เก้า

-

สิบ

บุญข้าวสากน้อย บุญข้าวสากใหญ่

สิบเอ็ด

กฐิน

สิบสอง

ลอยกระทง

หากพิจารณาเปรียบเทียบกันระหว่างประเพณีนิยมของชุมชนอีสานทั่วไปกับชุมชนบ้านไพรขลาจะพบว่าไพรขลามีความแตกต่างเฉพาะตัวเองไม่เหมือนประเพณีนิยมของลาวอีสาน ส่วนใหญ่ โดยจะมีประเพณีทางกลุ่มชาติพันธุ์เขมร และส่วยเข้ามาแทรกอยู่เช่น รำมะม๊วดประเพณีบวชนาคด้วยช้าง บุญข้าวสากน้อย (แซนโฎนตา) เหล่านี้คือสิ่งที่แตกต่างและเป็นแบบนี้มานานแล้ว ยกเว้นกรณีบุญบั้งไฟ ชุมชนบ้านไพรขลา มียกเลิกการจัดงานบุญบั้งไฟไปไม่กี่ปีมานี้ ด้วยสาเหตุอันตรายเกินไป และชุมชนอื่น ๆ รอบข้างก็มีบุญประเพณีนี้ทุกชุมชน (มีมากอยู่แล้วก็ไม่ต้องจัด) การมีวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นเป็นของตนเองแบบนี้ อาจเกิดจากการปรับตัวของชุมชน ที่อยู่ท่ามกลางความหลากหลายวัฒนธรรมนั่นเอง

๘. ทรัพยากรธรรมชาติ

. ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
- โดยส่วนมากราษฎรในตำบลไพรขลาปลูกยูคาลิปตัสบนคันนา ตามลำคลอง และพื้นที่หัวไร่ปลายนา เพื่อเป็นการเสริมรายได้ ทั้งจากการขายข้าวเจ้าหอมมะลิ และขายไม้ยูคาลิปตัสได้ปีละหลายหมื่นบาท
- มีแม่น้ำลำพลับพลาไหลผ่านด้านทิศเหนือของตำบล

๙. อื่นๆ

๑. การพาณิชย์
ตำบลไพรขลามีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน ๓ แห่ง และมีปั้มน้ำมันหลอดที่ให้บริการในหมู่บ้านจำนวน ๙ แห่ง มีร้านค้าขนาดเล็กจำนวน ๕๔ ร้าน ร้านค้าขนาดใหญ่ จำนวน ๖ แห่งโรงสีขนาดเล็ก จำนวน ๓๘ แห่ง โรงสีขนาดใหญ่ จำนวน ๑ แห่ง ร้านซ่อมรถจักยานยนต์ จำนวน ๕ แห่ง ร้านซ่อมรถยนต์ จำนวน ๖ แห่ง โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ จำนวน ๙ แห่ง

  . มวลชนจัดตั้ง
- ลูกเสือชาวบ้าน รุ่น จำนวน ๙๘๐ คน
- อปพร. รุ่น จำนวน ๑๓๗ คน
- อส.ตร. รุ่น จำนวน ๑๕๐ คน
- กลุ่มอาชีพ จำนวน ๓๘ กลุ่ม
- กลุ่มออมทรัพย์ จำนวน กลุ่ม
- กลุ่มอื่นๆ จำนวน กลุ่ม
๓. ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยมีการพัฒนาและบูรณาการ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ตามแผนการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนการปฏิรูประบบราชการไปพร้อมกัน เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลาจึงได้จัดทำแผนอัตรากำลัง ๓ ปี เพื่อไว้รองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแล้ว
โครงสร้างและกระบวนการบริหารบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา ประกอบด้วย ก. บุคลากร พนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้าง จำนวน ๓๗ คน (ข้อมูล ณ ๓๐ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๒)
- ตำแหน่งในสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๑๘ คน
- ตำแหน่งในกองการคลัง จำนวน ๘ คน
- ตำแหน่งในกองช่าง จำนวน ๕ คน
- ตำแหน่งกองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน ๑๐ คน
- ระดับการศึกษา
- ประถมศึกษา จำนวน - คน
- มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน - คน
- มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน ๘ คน
- อนุปริญญา จำนวน ๖ คน
- ปริญญาตรี จำนวน ๑๕ คน
- ปริญญาโท จำนวน ๘ คน

๔. ผลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล

๔.๑ การดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน อำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในชีวิตประจำวันของประชาชน สนับสนุนโครงการเสริมสร้างถนนลงหินคลุก โครงการเสริมสร้างถนนลงลูกรัง โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จัดหาแหล่งน้ำ เพื่อใช้ทางด้านการเกษตร และช่วยทางด้านอุทกภัย เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง การลงทุนซ้ำซ้อน ความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานของประชาชนมีมาก เพื่อตอบสนองความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานของประชาชน
จัดให้มีน้ำสะอาดในการอุปโภค – บริโภค ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญในการดำรงชีวิตของประชาชน
ในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา และได้มีการปรับปรุงขยายเขตประปาภายในชุมชน ก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน ซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน
ดำเนินการปรับปรุงระบบไฟฟ้าสาธารณะ ซ่อมแซมไฟฟ้าสาธารณะ และขยายเขตไฟฟ้าให้มีแสงสว่างที่ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ ขององค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา
มีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์รวมของประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลาและนักท่องเที่ยวสัญจรไปมา เพื่อประโยชน์ด้านการพักผ่อน

              ๔.๒ การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ
พัฒนาและส่งเสริมกลุ่มองค์กรต่าง ๆ เพื่อเป็นรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว โดยนำหลักการของรัฐบาลมาปรับใช้ ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา และช่วยส่งเสริมกลุ่มองค์กร เพื่อให้เกิดการสร้างงาน มีงานทำมีรายได้ในหมู่บ้านและตำบลของเรา เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ในอนาคต การกระตุ้นเศรษฐกิจ องค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลาและกลุ่มเกษตรอินทรีย์แต่ละหมู่บ้านได้ก่อสร้างโรงสีชุมชนเพื่อสีข้าวสารที่เป็นข้าวหอมมะลิและจำหน่าย ซึ่งเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลไพรขลา และได้ก่อสร้างโรงเรือนเกษตรอินทรีย์เพื่อให้กลุ่มเกษตรอินทรีย์แต่ละหมู่บ้านได้จัดทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในการผลิตข้าวหอมมะลิ และนำมาแปรรูปเป็นข้าวสารปลอดสารพิษต่อไป ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่ราษฎรในพื้นที่ตำบลไพรขลา

              ๔.๓ การดำเนินงานด้านสังคม โดยส่งเสริมเด็กที่เรียนเก่งแต่ยากจนและขาดทุนทรัพย์ในการเรียน เพื่อให้เด็กที่มีความมุ่งมั่นในด้านการศึกษาและจะนำพาให้เด็กเป็นคนดีของชาติได้ในอนาคต ส่งเสริมทางด้านการเล่นกีฬา โดยการจัดให้มีการแข่งขันกีฬาประชาชนและเยาวชน เพื่อที่จะพัฒนาให้เด็กรู้จักแพ้รู้จักชนะและรู้จักการให้อภัยและเพื่อให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงไม่ไปติดยาเสพติด จัดให้มีการรณรงค์ป้องกันยาเสพติด ดำเนินการให้มีเงินสงเคราะห์ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เด็กด้อยโอกาส และผู้ติดเชื้อเอดส์ ให้การสนับสนุนงบประมาณหน่วยงานอื่นในการดำเนินการเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และดำเนินการช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย เช่น อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย และภัยอื่น ๆ ที่เกิดจากธรรมชาติ

๔.๔ การดำเนินงานด้านการเมืองการบริหาร ในด้านการพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร องค์การบริหารส่วนตำบลจัดให้มีการอบรมและพัฒนาประสิทธิภาพแก่คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงาน และได้อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาติดต่อประสานงานโดยขยายเวลาทำงานช่วงพักเที่ยงและวันเสาร์ บริการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยการจัดทำประชาคมหมู่บ้าน การจัดเวทีประชาคมระดับตำบล การจัด อบต.สัญจร การจัดการเลือกตั้ง จัดหาอุปกรณ์และปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้สำนักงานให้มีความทันสมัยสามารถใช้งานได้ตลอดเวลาและสถานที่ปฏิบัติงาน

๔.๕ การดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ป่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามาก ป่าไม่สมบูรณ์ปัญหาสภาพแวดล้อมอื่นๆก็จะตามมา องค์การบริหารส่วนตำบลไพรขลา ได้ร่วมกับประชาชน เยาวชน กลุ่มมวลชนร่วมกันปลูกต้นไม้เป็นแนวเขตที่สาธารณะประโยชน์และปลูกป่าทดแทน ดูแลรักษาป่า ลำธาร แม่น้ำลำคลอง จัดให้มีโครงการกำจัดวัชพืช และโครงการกำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอยและจัดหาถังขยะ

๔.๖ การดำเนินงานด้านสาธารณสุข การดำเนินงานทางด้านสาธารณสุขทำให้คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบลได้ส่งเสริมสุขภาพอนามัย การออกกำลังกาย ส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุ เด็กและสตรี รณรงค์ควบคุมโรคติดต่อไข้เลือดออก โดยการจัดซื้อน้ำยาเคมีพ่นหมอกควัน ปูนเคียวหมากและทรายอะเบท เพื่อกำจัดยุงอันเป็นสาเหตุของโรค จัดหาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคระบาด โครงการอาหารปลอดภัย โครงการคัดกรองผู้หญิงอายุ ๔๐ ปี ขึ้นไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน โรคความดัน (โลหิตสูง) โครงการร่วมกับ รพสต.ในพื้นที่ตรวจหาสารเคมีตกค้าง

๔.๗ การดำเนินงานด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ส่งเสริมการศึกษาของเด็กโดยการสนับสนุนงบประมาณอาหารกลางวัน อาหารเสริม (นม) ให้โรงเรียนในพื้นที่ตำบลทุกโรง จัดตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ สนับสนุนวัสดุสื่อการเรียนการสอน สนับสนุนงบประมาณให้โรงเรียนจัดโครงการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน ตลอดจนการสนับสนุนงบประมาณในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ส่งเสริมอาชีพในสถานศึกษา สนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการ จริยธรรมหรือนันทนาการการศึกษา และมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กด้อยโอกาส นักเรียนเรียนดีแต่ยากจน ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมทำนุบำรุงศาสนาและจัดประเพณีในวันสำคัญต่างๆ เช่น ถวายเทียนพรรษา การจัดประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ลอยกระทง และประเพณีการแข่งเรือในวันออกพรรษา

 
 
 
อบต.ไพรขลา อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ โทรศัพท์ 044-545132-3 , โทรสาร 044-545168
การแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดในระบบ Google Chrome, Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer 8 ขึ้นไป
สงวนลิขสิทธิ์ © โดย MediaCreativeCenter 08-7776-6615
หน้าแรก  I  สถานที่สำคัญ  I  ผลิตภัณฑ์ตำบล  I  กระดานถาม-ตอบ  I  แผนผังเว็บไซต์  I  ติดต่ออบต.