สภาพทางสังคม
สภาพทางสังคม
ตำบลไพรขลาเป็นตำบลที่ประกอบด้วยกลุ่มภาษาถิ่น 2 ภาษาหลัก คือ กลุ่มภาษาถิ่นลาวประกอบด้วย บ้านไพรขลาหมู่ที่ 1, บ้านโพนทัน หมู่ที่ 3, บ้านไพรขลาน้อย หมู่ที่ 4, บ้านโนนตาลหมู่ที่ 8 ,บ้านโนนโพธิ์ หมู่ที่ 9 ,บ้านโพนงาม หมู่ที่ 11 และบ้านโนนหนามแท่งหมู่ที่ 12 กลุ่มภาษาถิ่นเขมร ประกอบด้วย บ้านขาม หมู่ที่ 2 บ้านตาเฮอ หมู่ที่ 5 บ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ 6 บ้านม่วงสวรรค์ หมู่ที่ 7 และบ้านโพนม่วง หมูที่ 10
กลุ่มบ้านดั่งเดิมและบ้านขยาย
กลุ่มบ้านใหญ่มี 3 กลุ่มบ้านหลักประกอบด้วยบ้านไพรขลา,บ้านขาม และบ้านโพนม่วง
1.กลุ่มบ้านโพนม่วง ภาษาถิ่นเขมร มีหมู่บ้านที่ขยาย คือบ้านตาเฮอ บ้านโนนสมบูรณ์ และมีการแยกหมู่ออกอีกหมู่เป็นบ้านม่วงสวรรค์
2.กลุ่มบ้านขาม ภาษาถิ่นเขมร มีหมู่บ้านที่ขยายไปคือ บ้านโพนทันในบ้านปัจจุบันใช้ภาษาถิ่นลาวเนื่องจากการที่มีชาวภาษาถิ่นลาวเข้ามาร่วมทีหลังมากกว่า บ้านโนนหนามแท่งในบ้านปัจจุบันใช้ภาษาถิ่นลาวเนื่องจากการที่มีชาวภาษาถิ่นลาวเข้ามาร่วมทีหลังมากกว่า
3.กลุ่มบ้านไพรขลา ภาษาถิ่นลาว มีหมู่บ้านขยาย ประกอบด้วย บ้าน โนนตาล บ้านโนนโพธิ์ บ้านโพนงาม และบ้านไพรขลามีการแบ่งแยกออกเป็นบ้านไพรขลาน้อยอีกหมู่บ้านหนึ่ง
ความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในตำบล
โดยที่เป็นกลุ่มบ้านที่ตั้งกันมานานแล้วนับหลายร้อยปี ความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมที่มีในท้องถิ่นจึงกลมกลืนกันทั้งกลุ่มภาษาถิ่นเขมรและลาว รวมกันเป็นวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นเป็นของตนเอง เกิดจากการปรับตัวของชุมชน ที่อยู่ท่ามกลางความหลากหลายวัฒนธรรม สามกลุ่มบ้านหลักมีความถนัดเฉพาะตนตามการอบรมทางสังคมมาต่างกัน
กลุ่มจากโพนม่วงเป็นสังคมเกษตรกรรมแท้เนื่องจากช่วงที่เริ่มของมาตั้งถิ่นฐานนั้นอยู่ลึกเข้าไปในใจกลางทุ่งกุลาร้องไห้ชีวิตต้องดิ้นรนไปในท้องทุ่งเป็นหลัก เนื่องจากหลายร้อยปีที่แล้วพื้นที่เหล่านี้เป็นลักษณะป่าแบบทุ่งสะวันนา เป็นทุ่งหญ้าสลับเนินป่าเป็นย่อมๆ เป็นกลุ่มใหม่ที่เข้ามาแทนที่กลุ่มวัฒนธรรมเขมรเก่าที่ล่มสลายทิ้งร้างไปนับพันปีก่อนที่กลุ่มบรรพบุรุษปัจจุบันจะอพยพเข้ามา จึงมีปรากฏหลักฐานโบราณต่างๆกระจายไปทั่วในเขตตำบลไพรขลา มีการขุดพบวัตถุโบราณซ้อนกัน ถึงสามสมัย ทั้งยุค วัฒนธรรมเกลือ ยุคขอมนับถือพราหมณ์เรืองอำนาจ และสู่ยุคขอมนับถือพุทธที่ล่มสลายไปจากพื้นที่แอ่งโคราชในที่สุด กลุ่มโพนม่วงจึงเป็นกสิกรรมเป็นหลัก
กลุ่มไพรขลาถึงแมจะเปนกลุ่มภาษาถิ่นลาว(เปนสวนใหญ)แตวัฒนธรรม/พิธีกรรมบางอยางก็ไดมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมเขมร วัฒนธรรมสวย และวัฒนธรรมจีน ไดหลอมรวมวัฒนธรรม วิถีชุมชนจากความหลากหลายแตกตางของชาติพันธุ สามารถอยูดวยกันอยางสงบสุข มีวิถีชีวิตชุมชนและความสัมพันธกับชุมชนใกลเคียงอยางสงบสุข ไมมีปญหาความขัดแยงทางวัฒนธรรมที่แตกตางกัน และด้วยทำเลที่ตั้งของบ้านไพรขลาแต่เดิมมาคือทางผ่านของขบวนการค้า ต่างๆเพราะสภาพพื้นที่พ้นการเออท่วมของแม่น้ำมูล แต่มีทางออกด้านติดต่อที่ใช้แม่น้ำมูลได้สะดวก จึงมีการปรับตัวด้านการเป็นกลุ่มพ่อค้าเดินทางค้าขายไปทั่วและถ่ายทอดต่อมาสู่รุ่นลูกหลาน
กลุ่มบ้านขามคือกลุ่มที่มีลักษณะมีการผสมผสานการดำรงชีวิตแบบโพนม่วงและแบบไพรขลาคือมีทั้งที่เป็นกสิกรรมเป็นหลัก และมีกลุ่มที่โน้มเอียงไปทางไพรขลาเพราะมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่คล้ายกันจึงมีกลุ่มที่ถนัดด้านค้าขาย และ มีการสืบทอดสู่ลูกหลานทั้งที่มีความถนัดด้านค้าขาย และกสิกรรม |